วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีและศาสตร์อื่นๆ

3.ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีและศาสตร์อื่นๆ
      ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับศาสตร์ต่างๆ
1. ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับศึกษาศาสตร์
การนำเอาเทคโนโลยีการศึกษามาใช้นั้น ส่วนใหญ่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา ในด้านการศึกษาก็เช่นเดียวกัน เพราะปัญหาทางด้านการศึกษามากมาย เช่น - ปัญหาผู้สอน - ปัญหาผู้เรียน - ปัญหาด้านเนื้อหา - ปัญหาด้านเวลา ปัญหาเรื่องระยะทางนอกจากนั้นการนำเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในการเรียนการสอนก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนการสอนและเพิ่มประสิทธิผลทางการศึกษาอีกด้วยคณะกรรมการด้านเทคโนโลยีการศึกษาได้สรุปความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษาดังนี้
เทคโนโลยีการศึกษาทำให้การเรียนการสอน มีความหมายมากขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้กว้างขวาง เรียนได้เร็วขึ้น ทำให้ผู้สอนมีเวลาให้ผู้เรียนมากขึ้น
เทคโนโลยีการศึกษาสามารถตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียน ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความสามารถของผู้เรียน การเรียนการสอนจะเป็นการตอบสนองความสนใจและความต้องการของแต่ละบุคคลได้ดี
เทคโนโลยีการศึกษาทำให้การจัดการศึกษา ตั้งบนรากฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ทำให้การจัดการศึกษาเป็นระบบ
และเป็นขั้นตอน
เทคโนโลยีการศึกษาช่วยให้การศึกษามีพลังมากขึ้น การนำเทคโนโลยีด้านสื่อเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะทำให้การศึกษามีพลัง
เทคโนโลยีการศึกษาทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวาง และได้พบกับสภาพความจริงในชีวิตมากที่สุด
เทคโนโลยีการศึกษาทำให้เปิดโอกาสทางการศึกษาทั้งๆ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยบทบาทของเทคโนโลยีการศึกษาในการเรียนการสอนจึงมีอยู่ 4 บทบาท ดังนี้
1. 
บทบาทด้านการจัดการ
2. 
บทบาทด้านการพัฒนา
3. 
บทบาทด้านทรัพยากร
4. 
บทบาทด้านผู้เรียนจาก Domain of Education Technology จะเห็นได้ว่าแนวโน้มของเทคโนโลยีทางการศึกษา คือ การจัดระเบียบ (organizing) และการบูรณาการ (integrating) องค์ประกอบต่างๆ ทั้งหลายที่จะเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล หรือกล่าวได้ว่า เป็นการเอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้องค์ประกอบต่างๆ ทั้งหลายนั้น ประกอบด้วย
การจัดการทางการศึกษา (Educational Management Functions)เป็นหน้าที่ที่มีจุดมุ่งหมาย เพื่อควบคุมหรือกำกับการพัฒนาการศึกษา/การสอน หรือการจัดการทางการศึกษา/การสอน (การวิจัย การออกแบบ การผลิต การประเมนผล การให้ความช่วยเหลือการใช้) เพื่อเป็นหลักประกันประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประการใหญ่ ๆ คือ
1.1 
การจัดการหรือบริหารด้านหน่วยงานหรือองค์การ (Organization Management) เพื่อให้ดำเนินงานตามวิธีระบบและบรรลุวัตถุประสงค์ จะเกี่ยวข้องกับงานสำคัญ ๆ ดังนี้คือ
1.1.1 
การกำหนดจุดมุ่งหมายและนโยบาย เกี่ยวกับบทบาท วัตถุประสงค์ การเรียนการสอน ผู้เรียน ทรัพยากรการเรียน ฯลฯ จะต้องให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกันการให้การสนับสนุน จะต้องมีการวางแผน การจัดหาข้อมูล ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกในการพิจารณาและตัดสินใจ
1.1.2 
การจัดบริการที่มีประสิทธิภาพ
1.1.3 
การสร้างความประสานสัมพันธ์ ให้มีการร่วมมือในการปฏิบัติงานของทุกฝ่าย ตลอดจนวิธีการเผยแพร่ข่าวสาร และการติดต่อสื่อสารเพื่อให้การปฏิบัติงานดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและสำเร็จตามวัตถุประสงค์
1.2 
การจัดหรือบริหารงานด้านบุคคล (Personal Management) เป็นการจัดงานทางด้านการจัดบุคลากรให้เหมาะสมตามหน้าที่การงาน และความสามารถเฉพาะงาน เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ อันได้แก่การคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานทั้งการบรรจุใหม่ หรือการว่าจ้าง การฝึกอบรมหรือพัฒนากำลังคน การนิเทศงาน การบำรุงขวัญการทำงาน สวัสดิการ และ การประเมินผลการประกอบกิจการของบุคลากร
2. 
การพัฒนาทางการศึกษา (Educational Development) เป็นหน้าที่ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการวิเคราะห์ปัญหา การคิดค้น การปรับใช้ และการประเมินผล ข้อแก้ไขปัญหา ทรัพยาการเรียน
ด้วยการวิจัย (Researci-tneory) การออกแบบ (Desing) การผลิต (Production) การประเมินผล (Evaluation) การใช้ (Utilizsiton)
ทั้งหมดนี้ต่างก็มีวิธีการดำเนินการที่มีส่วนสัมพันธ์กับทรัพยากรการเรียน เช่น ในด้านการวิจัยนั้น เราก็วิจัยทรัพยากรการเรียนนั่นเอง ซึ่งก็ได้แก่การวิจัย ข่าวสารข้อมูล บุคลากร วัสดุ เครื่องมือ เทคนิค และอาคารสถานที่ ดังนี้เป็นต้น นอกจากนี้ เนื่องจากว่าเทคโนโลยีการศึกษามีส่วนในการพัฒนา และเอื้ออำนวยต่อกระบวนการสอนต่าง ในระบบการสอน จึงจะต้อง
มีกิจกรรมที่สัมพันธ์กับการพัฒนาระบบการสอนและระบบการศึกษาด้วย
1. การวิจัย ในการพัฒนาทรัพยากรการเรียนเป็นการสำรวจศึกษาค้นคว้า และทดสอบเกี่ยวกับความรู้ ทฤษฎี (ทฤษฎี และระเบียบวิธีวิจัย) ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและการพัฒนาทรัพยากรการเรียน องค์ประกอบระบบการสอนและผู้เรียน การวิจัยเป็นการพัฒนาโครงสร้างของความรู้ ซึ่งจะเป็นพื้นฐาน การตัดสินใจในการดำเนินการผลของการวิจัยคือ ได้ความรู้ ซึ่งจะนำไปใช้ ศึกษาค้นคว้าข้อมูล อ่านข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สังเคราะห์ข้อมูล ทดสอบข้อมูล วิเคราะห์และทดสอบผลลัพธ์ที่ได้
2. 
การออกแบบ เป็นการแปลความหมาย ความรู้ในหลักการทฤษฎีออกมาในรายละเอียด เฉพาะสำหรับเกี่ยวกับทรัพยาการเรียน หรือองค์ประกอบระบบการสอน ผลลัพธ์ของการออกแบบได้แก่รายละเอียดเฉพาะสำหรับผลิตผลของทรัพยากรการเรียน/องค์ประกอบระบบการสอนในเรื่องเกี่ยวกับ รูปแบบหรือแหล่ง หรือทรัพยากรกิจกรรมที่ใช้ในการดำเนินการ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนวัตถุประสงค์ ศึกษาลักษณะผู้เรียน วิเคราะห์งาน กำหนดเงื่อนไขการเรียนกำหนดสภาวการเรียน กำหนดรายละเอียดทรัพยากรการเรียน หรือองค์ประกอบระบบการสอน
3. 
การผลิต มีวัตถุประสงค์เพื่อแปลความหมาย ข้อกำหนดรายละเอียดสำหรับ ทรัพยาการการเรียน/องค์ประกอบระบบการสอนให้เป็นแบบลักษณะเฉพาะ หรือเป็นรายการที่จะปฏิบัติได้ ผลลัพธ์ที่ได้คือ ผลิตผลลักษณะเฉพาะในรูปแบบ ข้อทดสอบ แบบจำลอง กิจกรรมที่ดำเนินงาน ได้แก่ การใช้เครื่องมือสำหรับการผลิต การเขียนแบบ การร่างแบบ การเขียนเรื่องหรือเค้าโครง สร้างแบบจำลอง
การประเมินผล มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดประเมินผลการดำเนินงานของทรัพยากรการเรียน/องค์ประกอบระบบการสอน และเพื่อพัฒนาแบบจำลองที่ใช้ทดสอบ ผลลัพธ์ที่ได้ การประเมินผลการออกแบบ ประสิทธิผลของทรัพยากรการเรียน
ทรัพยากรการเรียน (Learning Resources)
ทรัพยากรการเรียน ได้แก่ ทรัพยากรทุกชนิด ซึ่งผู้เรียนสามารถใช้แบบเชิงเดี่ยว หรือแบบผสม แบบไม่เป็นทางการ เพื่อเอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ทรัพยากรการเรียนรู้ ได้แก่ข้อมูลสนเทศ/ข่าวสาร บุคคล วัสดุ เครื่องมือ เทคนิค และอาคารสถานที่
ข้อมูลสนเทศ/ข่าวสาร (Message) คือ ข้อสนเทศที่ถ่ายทอดโดยองค์ประกอบอื่น ๆ ในรูปแบบของความจริง ความหมาย และข้อมูล
บุคคล (People) ทำหน้าที่เก็บและถ่ายทอดข้อสนเทศและข่าวสาร เป็นคณะบุคคลที่ปฏิบัติงานในหน่วยงาน ได้แก่ ครู นักการศึกษา
ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเตรียมงาน ปรับปรุง ผลิต ดำเนินการประเมินผลและพัฒนา เพื่อให้การเรียนการสอนประสบผลสำเร็จ
วัสดุ(Material) ได้แก่ สิ่งของ เป็นต้น
5. 
เครื่องมือ (Devices) เครื่องมืออุปกรณ์ที่เป็นตัวถ่ายทอดข่าวสารที่บรรจุหรือบันทึกไว้ในวัสดุ (นิยมเรียกว่า Hardware) ส่วนมากจะเป็นเครื่องกลไก ไฟฟ้า และอิเลคทรอนิค บางอย่างก็ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเครื่องกลไกที่ใช้ไฟฟ้า หรือเครื่องอิเลคทรอนิค ได้แก่ เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องบันทึกเสียง เครื่องบันทึกภาพ เครื่องฉายภาพทึบแสง กล้องถ่ายรูป-ถ่ายภาพยนตร์-โทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ และอ่านไมโครฟิล์ม/ไมโครพิช กระดานดำ ป้ายนิเทศ
6. 
เทคนิค (Techniques)เป็นกลวิธีในการถ่ายทอดข่าวสารหรือเสนอเนื้อหาวิชา-ความรู้ให้แก่ผู้เรียน ได้แก่
ก. เทคนิคทั่วไป (Gerneral Technique) ได้แก่ เทคนิคการสอนแบบต่างๆ เช่น การสาธิต การสังเกต การอภิปราย การแสดงนาฎการ การบรรยาย การสาธิต การฝึกปฏิบัติการเรียน แบบแก้ปัญหา หรือแบบค้นพบและแบบสอบสวน และสืบสวน การเรียนการสอนแบบโปรแกรม สถานการจำลอง เกมต่างๆ การเรียนการสอนแบบโครงการ ฯลฯ
ข. เทคนิคการใช้ทรัพยากร (Resource-based Techniques) ได้แก่ การศึกษานอกสถานที่ การใช้ทรัพยากรชุมชน การจัดห้องเรียน
ค. เทคนิคการใช้วัสดุและเครื่องมือ (Material/devices-based Techniques) เป็นเทคนิคของการใช้วัสดุและเครื่องมือในการจัดการศึกษา และการเรียนการสอนเช่น ใช้โสตทัศนูปกรณ์ในการเรียนการสอนใช้บทเรียนแบบโปรแกรมตลอดจน เทคนิคการเสนอเนื้อหาวิชาด้วยวิธีการใช้เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ด้วยวิธีการเสนอที่ดีเช่น ใช้วิธีบังภาพบางส่วนที่ยังไม่ใช้ก่อนเมื่อใช้จึงเปิดส่วนนั้นออกมา หรือเทคนิคการใช้สื่อประสมเพื่อให้ผู้เรียนได้ความคิดรวบยอดที่กระจ่างจากตัวอย่าง หรือการแสดงด้วยสื่อหลายชนิด
ง. เทคนิคการใช้บุคคล (People-based Technique) ได้แก่ เทคนิคในการจัดบุคคลให้เหมาะสมกับงาน เช่น การสอนเป็นคณะ เทคนิคกลุ่มสัมพันธ์ หรือพลวัตรของกลุ่ม การสอนแบบซ่อมเสริม ตัวต่อตัว หรือการสัมมนา ฯลฯ เป็นต้น 4. ผู้เรียน(Learner)จุดหมายปลายทางรวมของเทคโนโลยีการศึกษาอยู่ที่ผู้เรียนและความต้องการของผู้เรียน จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องเข้าใจลักษณะของผู้เรียนซึ่งแตกต่างไปตามลักษณะ ความแตกต่างระหว่างบุคคลของแต่ละคน อันจะทำให้เราสามารถที่จะออกแบบระบบการเรียนการสอนตลอดจนสื่อการเรียนการสอนสนองวัตถุประสงค์การเรียนการสอนตลอดจนสื่อการเรียนการสอนสนองวัตถุประสงค์การเรียนการสอน หรือสนองวัตถุประสงค์ผู้เรียน ได้ให้บรรลุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีสิ่งที่จะต้องเข้าใจในตัวผู้เรียนหลายประการ เช่น เกี่ยวกับอายุ เพศ ระดับไอคิว ประสบการณ์เดิมในด้านความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติ จัดทำเมื่อปี พ.ศ. 2546 โดย ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ได้รับการสนับสนุนโดยสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย Copyright 2003 by Ministry of University Affairs and Department of Educational Technology, Kasertsart University
2.                ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์
               วิทยาศาสตร์ คือ วิชาที่ศึกษาถึงปรากฏการณ์ธรรมชาติ  ทั้งในสภาพนิ่งหรือสภาพที่มีการเปลี่ยนแปลง
             
เทคโนโลยี คือ กระบวนการหรือวิธีการและเครื่องมือที่เกิดจากการประยุกต์  และผสมผสานความรู้ทาง
วิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์เหมาะสมกับเวลาและสถานที่วิทยาศาสตร์มีจุดมุ่งหมายในการแสวงหาความรู้อย่างเป็นระบบ  โดยตั้งข้อสมมติฐาน พิสูจน์สมมติฐานด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ความรู้ หรือข้อเท็จจริงจากปรากฎการณ์นั้น  ๆ ถ้ามีการพิสูจน อีกก็ยังคงใช้ข้อเท็จจริงเหมือนเดิมเทคโนโลยีเป็นวิทยาการที่เกิดจากการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่นๆ ในการแก้ปัญหา  โดยมุ่งแสวงหากระบวนการหรือวิธีการ (Know How) โดยอาศัยเครื่องมือและความรู้ต่าง ๆ ผลของกระบวนการเทคโนโลยีมี 2 ลักษณะ คือ
           1.
เครื่องมือ  หรือฮาร์ดแวร์  หมายถึง  เทคโนโลยีในรูปของอุปกรณ์  เครื่องมือต่าง ๆ เช่น เครื่องบำบัดน้ำเสีย  เครื่องปรับอากาศ  เครื่องบิน  เป็นต้น
           2. 
วิธีการหรือ เรียนกว่า ซอฟต์แวร์  หมายถึง  เทคโนโลยีในรูปของวิธีการ  กระบวนการ ความรู้ต่าง ๆ   เช่น วิธีจัดการระบบบริหารองค์กร  วิธีประเมินผลต่าง ๆ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

           
ผู้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับปรากฎการณ์ธรรมชาติ คือ นักวิทยาศาสตร์  ความใฝ่รู้  หรืออยากรู้อยากเห็น  ทำให้คนเป็นนักวิทยาศาสตร์  ความใฝ่ประดิษฐ์ทำให้คนเป็นช่างฝีมือ  คนที่เรียนเทคโนโลยีจะต้องมีจิตวิญญาณสองส่วน  คือ ใฝ่รู้ หรือ ใฝ่ศึกษาธรรมชาติ  และใฝ่ทำหรือใฝ่ประดิษฐ์  บุคคลที่มีคุณลักษณะทั้ง 2  ประการ  ได้แก่ โธมัส อัลวา  เอดิสัน  เป็นนักประดิษฐ์ ที่รวมความเป็นนักวิทยาศาสตร์และช่างฝีมือในตัวเอง
           
เมื่อประมาณ 4,500 ปี มาแล้ว  ชาวอียิปต์โบราณสร้างพีระมิดด้วยเทคโนโลยีบางอย่างสำหรับขนหิน
แกรนิตขนาดใหญ่ขึ้นไปเรียงกันถึงยอดสูงประมาณ 164 ฟุต  เทคโนโลยีเกิดจากการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และการพัฒนาเครื่องมือของช่างฝีมือ  ทำให้ได้เครื่องจักรกลที่ซับซ้อน           
           
ประเทศไทยผลิตช่างฝีมือในแต่ละปีจำนวนมาก  แต่ขาดความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์
สำหรับการพัฒนาเทคโนโลยี ประเทศที่เจริญทางเทคโนโลยีจะทุ่มเททุนมหาศาลเพื่อพัฒนาและประยุกต์วิทยาศาสตร์เข้ากับเทคโนโลยี ขณะนี้ประเทศไทยต้องพึ่งพาหรือซื้อเทคโนโลยีชั้นกลางหรือชั้นสูงจากต่างประเทศ  เพราะเราประดิษฐ์เทคโนโลยีเหล่านั้นได้น้อยมาก
วิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์กับเทคโนโลยี ในฐานะที่เป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญสำหรับเทคโนโลยีแต่ไม่
ใช่เฉพาะวิทยาศาสตร์ วิชาอื่น ๆ ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน

         
วิทยาศาสตร์แตกต่างจากเทคโนโลยีในเรื่องของเป้าหมาย (goal) และวิธีการ (methodlogies) แต่ทั้ง
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด
             
เทคโนโลยีสัมพันธ์กับความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหา 
แต่ขณะเดียวกันวิทยาศาสตร์ต้องอาศัยความรู้ทางเทคโนโลยีแสวงหาความรู้หรือทฤษฎีใหม่ ๆ เทคโนโลยีจึงไม่ใช่วิทยาศาสตร์ประยุกต์  แต่เป็นศาสตร์อีกแขนงหนึ่ง  อาจสรุปความสัมพันธ์ของศาสตร์ทั้งสอง ได้ดังนี้
             1. 
เทคโนโลยีเกิดจากการใช้ความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นส่วนใหญ่
             2. 
การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในเทคโนโลยีนั้น  มีจุดประสงค์เพื่อแก้ปัญหาทางเทคโนโลยี
            
วิชาวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่เราให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างมาก  และต้องใช้วิชาเทคโนโลยีเพื่อเสริมการแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ ทั้ง 2 วิชามีความสัมพันธ์กันและเป็นการนำความรู้วิทยาศาสตร์ไปสู่การปฏิบัตินั่นเอง
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด  จึงมักถูกเรียกควบคู่กัน แต่วิธีการใช้ทั้งสองวิชาเพื่อให้ได้คำตอบนั้นไม่เหมือนกันทีเดียว  และจุดประสงค์หรือเป้าหมายต่างกัน
            
วิทยาศาสตร์เริ่มจากคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตจากปรากฎการณ์ธรรมชาติ  จากนั้น จึงใช้วิธีการสืบเสาะหาความรู้ ได้แก่  การสังเกต  รวบรวมข้อมูล  ทดลอง  วิเคราะห์  และสรุปผล  ซึ่งเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการหาคำตอบเพื่ออธิบายปรากฎการณ์ธรรมชาตินั้น  คำตอบจากการค้นหานั้น จะเป็นกฎเกณฑ์ทางทฤษฎี
            
เทคโนโลยีเริ่มจากปัญหาหรือความต้องการของมนุษย์  แล้วใช้กระบวนการต่าง ๆ เพื่อหาวิธีการ แก้ไขปัญหาหรือสนองความต้องการของมนุษย์ โดยใช้ทรัพยากร   ทักษะ  และความรู้ด้านต่าง ๆ สำหรับปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์นั้นตามกระบวนการเทคโนโลยี
ข้อแตกต่างของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวโดยสรุป คือ ทั้ง 2 วิชา มีธรรมชาติและกิจกรรมแตกต่างกัน  กล่าวคือ วิทยาศาสตร์มุ่งเน้นความเข้าใจเกี่ยวกับความจริงในธรรมชาติ (Facts and Phenomena of Nature ) ส่วนเทคโนโลยีศึกษาสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความต้องการ  การแก้ปัญหา  และคุณสมบัติของสิ่งของ (Artifacts) ที่มนุษย์ประดิษฐ์หรือสร้างขึ้น  วิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับการพยายามตอบคำถาม “What” ในขณะที่ เทคโนโลยีมุ่งแก้ปัญหาที่มาจากความต้องการจะตอบคำถาม “How”เราจะมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไร หรือสร้างสิ่งที่เกิดจากการความต้องการอย่างไร
           3.    ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับเกษตรศาสตร์
เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์กันมาก เทคโนโลยีเกิดจากพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ที่ถ่ายทอดมาจากประเทศตะวันตกซึ่งศึกษาค้นคว้าทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่
ยุคปฏิวัติวิทยาศาสตร์ (คริสต์ศตวรรษที่ 16-17) ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีเจริญก้าว
หน้าควบคู่ไปกับวิทยาศาสตร์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ที่เกิดจากการสังเกตปรากฏการณ์
ทางธรรมชาติ คือการพยายามที่อธิบายว่าทำไมจึงเกิดอย่างนั้น เช่น นักฟิสิกส์ อธิบายว่า
เมื่อขดลวดตัดสนามแม่เหล็กจะได้กระแสไฟฟ้า และน้ำเกิดจากไฮโดรเจนผสมกับออกซิเจน เป็นต้น
ตั้งเป็นกฎเกณฑ์และทฤษฎีเพื่อถ่ายทอดและสอนให้ผู้อื่นได้ศึกษาและพัฒนา ส่วนในความหมาย
ของเทคโนโลยีเป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์
ในทางปฏิบัติแก่มวลมนุษย์ กล่าวคือ เทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้
ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี
กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นสมบัติส่วนรวมของชาวโลก มีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขาย
แต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ บทบาทของเทคโนโลยีต่อการพัฒนาประเทศไทยได้เล็งเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีมาเป็นลำดับ เช่น การตราพระราชบัญญัติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าในปี พ.ศ. 2514 และจัดตั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงานแห่งชาติขึ้นในปี พ.ศ. 2522 ให้ทำหน้าที่หลักในการเผยแพร่และพัฒนาผลงานทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด
เทคโนโลยีกับการพัฒนาด้านการเกษตร ใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มผลผลิต ปรับปรุงพันธุ์ เป็นต้น เทคโนโลยีมีบทบาทในการพัฒนาอย่างมาก แต่ทั้งนี้การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนา
จะต้องศึกษาปัจจัยแวดล้อมหลายด้าน เช่น ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ความเสมอภาคในโอกาสและ
การแข่งขันทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เกิดความ ผสมกลมกลืนต่อการพัฒนาประเทศชาติและส่วนอื่นๆอีกมาก 
       4.        ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับโภชนศาสตร์
โภชนศาสตร์ หรือ โภชนาการ เป็นวิชวิทยาศาสตร์แขนง-หนึ่งที่กล่าวถึงความสำคัญของอาหารที่มีต่อสุขภาพของร่างกาย
ศัพท์เฉพาะทางโภชนศาสตร์ที่ควรทราบ
1. อาหารที่กำหนดให้ (DIET) เป็นอาหารที่ได้กำหนดไว้หรือให้
รายชื่อตายตัวของอาหารนั้นแต่ละมื้อโดยมักจะกำหนดเป็นรายการอาหาร
2 .ผู้กำหนดอาหาร(Dietitian หรือ Dietecian) คือบุคลผู้ด้ำเนินงานด้านจัดปรุงอาหาร โดยยึดหลักวิชาโภชนศาสตร์ ในการจัดเตรียมอาหารบุคคลผู้นี้ต้อง คิดทำรายการอาหารเพื่อบริโภคเป็นมื้อรวมทั้งอาหารปกติและสำหรับคนป่วย
3. อาหาร (Food) คือสิ่งที่มนุษย์นำมาบริโภคได้ และก่อให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกายซ่อมแซมชำรุดส่วนที่สึกหรอให้พลังงานและความอบอุ่นตลอดจนช่วยในการคุ้มกันโรค
พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ได้นิยามคำศัพท์คำว่า อาหาร ว่า
อาหาร คือของกินหรือของค้ำจุนชีวิต ได้แก่
วัตถุทุกชนิดที่กิน ดื่ม อม หรือนำเข้าสู่ร่างกายแต่ไม่รวมถึงยา
วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร
4. อุปนิสัยในการบริโภค (Food Habbit) ศึกษาการกินและความเคยชินในการบริโภค
5. ทุพโภชนาการ
(Mulnutrition) เป็นสภาพร่างกายที่ขาดสารอาหาร หรืออาจเรียกว่าเป็นโรคที่เกิดจากการขาดสารอาหาร
6. 
สารอาหารหรือธาตุอาหาร(Nutrients) ได้แก่สารเคมีต่างๆที่มีอยู่ในอาหารที่คน รับประทานเข้าไป แบ่งออกเป็นสองพวกใหญ่ๆ คือ
6.1 Inorganic compounds ประกอบด้วยเกลือแร่และน้ำ
6.2 Organic compounds ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน และวิตามิน
7. โภชนาการ(Nutritionist) คือบุคคลที่เรียนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์โภชนศาสตร์แล้วนำเอาความรู้ไปให้การศึกษา อบรม และดำเนินการ ส่งเสริมให้ผู้คนมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น